วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

อาหารกับความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตกับอาหาร คนไทยสมัยก่อนเป็นโรคติดเชื้อและโรคพยาธิกันมากเพราะการสาธารสุขในสังคมไทยยุคก่อนไม่เจริญพอแต่สำหรับคนไทยยุคใหม่โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดไม่ใช่โรคติดเชื้อแต่กลายเป็นโรคหัวใจ ในบรรดาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจนั้นมีเรื่องของความดันโลหิตสูงร่วมอยู่ด้วย คนปกติจะมีความดันโลหิต 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยเฉลี่ย ตัวเลขจำนวนแรกเป็นตัวเลขแสดงความดันขณะหัวใจบีบตัว (systolic) ส่วนตัวเลขจำนวนหลังแสดงความดันขณะที่ หัวใจ คลายตัว (diastolic) หากพิจารณาตามมาตรฐานอเมริกันซึ่งคนไทยหยิบยืนมาให้ยืมมาใช้บอกไว้ว่าความดันโลหิตของคนเราอาจจะสูงขึ้นได้ แต่อย่าให้สูงเกิน 140/90 เพราะถ้าเกินค่านี้แล้วย่อมหมายความว่าชีวิตของเรากำลังผจญกับความเสี่ยงหลายประการที่เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหัวใจล้มเหลวเส้นโลหิตในสมองแตก และเรื่องอื่น ๆ ใครที่ห่วงตัวเองว่าอาจมีปัญหาความดันโลหิตสูง ควรไปพบแพทย์ได้ตรวจร่างกายซึ่งแพทย์ก็จะทำการตรวจวัดความดันโลหิตให้เราเป็นประจำเรา็ก็จะได้รับทราบว่าความดันโลหิตของเราเท่าไร เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และต้องไม่ลืมปฏิบัติตัวตามที่แพทย์ หรือว่าเราอาจจะซื้อเครื่องวัดความดันโหลิตไว้ใช้เองเลยก็ดี จะได้สะดวกยิ่งขึ้นเราสามารถวัดได้เอง ซึ่งปัจจุบันก็มีจำหน่วยมากมายหลายแบบตามร้านยาที่มีเภสัชกรคอยแนะนำ



ดังนั้นจึงควรรู้จักหาหนทางป้องกันตัวเองไว้ เครื่องมือหนึ่งที่จะใช้ป้องกันตัวเองให้พ้นจากความดันโลหิตสูงก็คือ อาหาร ขึ้นฉ่าย ผักชี อาหารช่วยลดความดัน อาหารลดความดันที่คนเองเชียรู้จักกันมานมนานแล้วก็คือขึ้นฉ่ายและผักชี ในตำรับยาโบราณของจีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ไทยมีเรื่องการใช้ขึ้นฉ่ายและผักชีลดความดันโลหิตหรืออาการที่น่าจะเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต

ดร. วิลเลียม เอลเลียตต์ (William Elliott) แห่งวิทยาลัยแพทย์ พริตชเกอร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโกสงสัยเรื่องคุณสมบัติของสารเคมีในผักชีฝรั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการลดความดันโลหิตมานาน ต่อมาเมื่อได้ยินข่าวเรื่องลุงของลูกศิษย์ชาวเวียดนามคนหนึ่งใช้ผักชีฝรั่งในการรักษาความดันก็ยิ่งสนใจเรื่องผักจำพวกผักชีและขึ้นฉ่ายมากขึ้น จึงทดลองสกัดสารพฤกษาเคมีออกมาจากผักชีฝรั่งแล้วลองฉีดเข้าไปในหนู ผลที่ได้ก็คือตัวเลขความดันขณะหัวใจบีบตัวมีค่าลดลงประมาณร้อยละ 13 ลดความดันโลหิตคือสารบิวทาไลด์ (3-n-butyl phthalide) ปริมาณของสารนี้ในผักชีฝรั่งหรือขึ้นฉ่ายต้นอวบ ๆ 2-4 ต้นจะให้ผลในการลดความดันโลหิตได้ สารพฤกษาเคมีชนิดนี้พบมากในขึ้นฉ่ายมากกว่าผักชนิดนี้พบมากในขึ้นฉ่ายมากกว่าผักชนิดอื่น ดร.เอเลียตต์ อธิบายกลไกของสารเคมีในการลดความดันโลหิตไว้ว่า สารบิวทิลทาไลด์จะลดการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด(stress hormone) ทั้งหลายซึ่งจะส่งผลให้การบีบตัวของหลอดเลือดลดลง ผลที่ตามมาคือความโลหิตลดลง ข้อที่ควรระวังของผักชีและขึ้นฉ่ายที่อาจจะมีอยู่บ้างคือเรื่องเกลือโซเดียม ผักกลุ่มนี้เป็นผักที่มีเกลือโซเดียมค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น และเกลือโซเดียมนี้มีผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ ดร. เอลเลียตต์กล่าวว่าเกลือโซเดียมในผักชีฝรั่งหนึ่งต้นมีประมาณ 35 มิลลิกรัม หากรับประทานผักชีฝรั่งหรือขึ้นฉ่ายสองต้นจะได้เกลือโซเดียมเพียง 70 มิลลิกรัมซึ่งยังนับว่าน้อยมากจึงยังไม่มีผลต่อความดันโลหิตปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องความสะอาด ขึ้นฉ่ายและผักชีเป็นผักที่มีรูปลักษณ์ของใบและกิ่งที่สามารถเก็บความสกปรกไว้ได้มาก เกษตรกรบางกลุ่มนิยมใช้ปุ๋ยธรรมชาติซึ่งมาจากอุจจาระ ขณะเดียวกันคนไทยจำนวนไม่น้อยนิยมรับประทานขึ้นฉ่ายในลักษณะผักสดโดยไม่ใคร่นิยมรับประทานเป็นผักต้มหรือให้ความร้อนก่อน จึงอาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงหือพยาธิได้ ด้วยเหตุนี้จึงขอเตือนให้ระวังเรื่องความสะอาดไว้ให้มาก หากปรุงอาหารเองก็ควรล้างขึ้นฉ่ายหลาย ๆ น้ำ หรือเด็ดออกเป็นกิ่ง แล้วล้าง หรืออาจแช่น้ำด่างทับทิมหรือโซดาไว้สักครู่ จากนั้นจึงล้างน้ำต่อจนมั่นใจว่าขึ้นฉ่ายและผักชีสะอาดแล้ว กระเทียม สมุนไพรสารพัดประโยชน์ อาหารธรรมดา ตัวต่อไปที่ใช้ลดความดันโลหิตได้ก็กระเทียมกระเทียมแทบจะเป็นผักสารพัดประโยชน์เพราะใช้ทั้งป้องกันและรักษาได้หลายโรค เรื่องของกระเทียมกับความดันโลหิตสูงมีระบุไว้ในตำรับยาจีนโบราณ ส่วนในสมัยนี้ชายเยอรมันซึ่งโดยเฉลี่ยมีการศึกษาสูงนิยมรับประทานกระเทียมเพื่อช่วยลดความดันโลหิต ในประเทศเยอรมนีเคยมีการศึกษาทางการแพทย์ที่น่าสนใจกล่าวถึงการรับประทานกระเทียมเป็นประจำวันละ 2 กลีบโต ๆ ว่าสามารถลดความดันโลหิตโดยเฉลี่ยจาก 171/102 เหลือ 152/89 ได้ ในการทดลองเดียวกันกลุ่มที่ได้ยาหลอก (placebo) จะพบว่าความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใด นักเชื่อกันว่ากระเทียมลดความดันได้เพราะมีสารพฤกษาเคมีชื่อ แอดีโนซีน (adenosine) เป็นองค์ประกอบในปริมาณค่อนข้างสูง สารนี้ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่เป็นกล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวมากกว่าปกติในหัวหอมก็มีสารนี้พอสมควร และยังพบว่ามีสารพรอสทาแกลนดิน A1 ชนิดนี้เป็นสารกึ่งฮอร์โมนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวได้ มีฝรั่งจำนวนไม่น้อยที่ไม่รับประทานกระเทียม โชคดีของคนไทยที่ไม่ใคร่กลิ่นเรื่องกลิ่นกระเทียม ชอบรับประทานทั้งแบบสดและปรุง อันที่จริงกระเทียมทุกรูปแบบให้คุณค่าไม่ต่างกันนัก เพียงแต่กระเทียมสดอาจมีฤทธิ์มากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น: