วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

อาหารกับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

ผมได้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพประจำ ก็รู้สึกตกใจกับโรคร้ายต่าง ๆ ที่เป็นภัยเงียบที่เราหลาย ๆ คนนิ่งนอนใจหรืออาจจะเรียกว่าชะล้าใจประมาณนั้น คุณหมอบอกว่าเดี๋ยวนี้มีโรคที่เป็นกันง่าย ๆ เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน อาจจะเป็นไปได้ว่าขาดอะไรไปสักอย่าง เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ครบหมู่ หรือว่าอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนยาฆ่าแมลง และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อันเนื่องจากการเดินทางที่อยู่บนท้องถนนจากการจราจร เป็นต้น
วันนี้ผมจึงได้มาแนะนำโรคหลอดเลือดแดงแข็งและการป้องกัน ซึ่งจากคำอธิบายของคุณหมอบอกว่า หากเรา ๆ ท่าน ๆ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง นั่นหมายความว่ามีผลนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เนื่องจากการมีโคเลสเตอรรอลสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อมและมีการสะสมของตะกรัน (Plaque) ทำให้อุดกั้นการไหลเวียนของเลือดกระบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิด "โรคหลอดเลือดแข็ง" นั่นเอง รวมถึงการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลาย
รูปหลอดเลือดแดง เส้นเลือดด้านบนสุดเป็นเส้นเลือดที่ปกติ
เส้นเลือดด้านล่างสุดเป็นเส้นเลือดที่มีตะกรันสะสมหนาตัวขึ้นขัดขวางการไหลเวียนของเลือด
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ ไขมันตัวร้าย (LDL-cholesterol) ซึ่งไม่ควรเกิน 130 mg/dl ถ้ามีปริมาณมาก จะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง และเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป
ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
มีโรคเบาหวาน
มีความดันโลหิตสูง
มีไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
เครียด
น้ำหนักเกิน
ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคของหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดแดงแข็งสามารถเกิดได้กับหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
1. สมอง ตะกรันอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือที่รู้จักกันว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต
2. หัวใจ การปิดกั้นที่หลอดเลือดโคโรนารี จะทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart attack)
3. หลอดเลือดแดงใหญ่ อาจเกิดโป่งพอง และจะเป็นอันตรายมากหากหลอดเลือดโป่งพองจนแตก (reptured aneurysm)
4. ไ หลอดเลือดแดงที่ไตถูกปิดกั้นทำให้ไตถูกทำลาย จนในที่สุดเป็นไตวาย (Kidney failure)
5. ขา การปิดกั้นที่หลอดเลือดแดงที่ขาจะทำให้ปวด และเกิดอาการหลอดเลือดแดงส่วนปลายอักเสบ (peripheral arterial disease, PAD)
ดังนั้นการควบคุมระดับโคเรสเตอรอลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ปกติมีความสำคัญมากที่สุด
การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
1. กินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ต่าง ๆ ข้าวกล้อง
2. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ผ่องใจ ไม่เครียด สวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ
3. คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม กับความสูง
4. กินยาควบคุมระดับโคเลสเตอรอลตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
5. ไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น: